1.เทคโนโลยีเชิงความร่วมมือประกอบด้วยระบบใดบ้าง

            เทคโนโลยีเชิงความร่วมมือประกอบด้วย

1.ระบบบัญชีและการเงิน (Financial Accounting) – เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบงานย่อยอื่นอย่างสมบูรณ์ สามารถบันทึกรายการบัญชีทันทีจากระบบงานย่อยต่างๆ จึงช่วยลดงานด้านการบันทึกรายการเดินบัญชีได้มาก นักบัญชีสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อวิเคราะห์ควบคุม และบริหารงานบัญชีได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังทำให้ข้อมูลทางบัญชีต่างๆได้รับการปรับให้ถูกต้องตามรายการที่เกิด ช่วยให้ผู้บริหารติดตามผลการดำเนินงานได้ตลอดเวลา ประกอบด้วยระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบบัญชีศูนย์ต้นทุน /ศูนย์กำไร ระบบบริหารงบประมาณ

2. ระบบบัญชีทรัพย์สินถาวร (Asset Management) ระบบงานย่อยใช้รองรับการควบคุมสินทรัพย์ โดยระบบบัญชีทรัพย์สินถาวรจะเชื่อมกับระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป สำหรับทุกรายการบัญชีที่เกิดขึ้น

3. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Administration) ช่วยสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร ระหว่างองค์กรกับพนักงาน ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักงานเข้ามาสร้าง เรียกดูและแก้ไขข้อมูลของตนเอง นอกจากนั้นยังช่วยในการบริหารจัดการวงจรของพนักงาน ตั้งแต่การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน ค้นหาและเลือกพนักงานที่เหมาะสมกับงาน สร้างมาตรฐานในการวัดผลการปฏิบัติงาน สามารถกำหนดแผนการฝึกอบรมพนักงานให้เป็นไปตามความเหมาะสม

4. ระบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development) ช่วยในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถและศักยภาพของพนักงาน วางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพของทรัพยากรบุคคล

5. ระบบจัดซื่อจัดหาและบริหารสินค้าคงคลัง (Purchasing and Inventory Management) ระบบนี้ประกอบด้วยระบบย่อยเพื่อรองรับกระบวนการทำงานของผู้ใช้ ดังนี้
– ระบบจัดซื้อจัดหา (Purchasing) สนับสนุนงานด้านการจัดซื้อจากหน่วยงานต่างๆ การทำใบสั่งซื้อ การรับสินค้า และเรื่องใบแจ้งหนี้
– ระบบบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) รองรับการบันทึกรายละเอียดข้อมูลพัสดุ สถานะของพัสดุ สถานที่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของพัสดุ ข้อมูลพัสดุคงเหลือ การรับพัสดุเข้าคลังการเบิกจ่ายพัสดุ การโอนย้ายพัสดุ การตรวจนับพัสดุประจำงวด ระบบจะบันทึกรายการทางบัญชีโดยอัตโนมัติที่ระบบบัญชีการเงิน

6. ระบบบริหารสินค้าคงคลัง (Warehourse Management) นำอินเทอร์เน็ตมาใช้ร่วมกับรูปแบบในการจัดซื้อจัดจ้างทางธุรกิจ รูปแบบการทำธุรกิจแบบนี้จะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้เกิดตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก สามารถพบกันได้ โดยมีต้นทุนทั้งเรื่องของเงินและเวลาน้อยที่สุด สามารถจัดการซื้อขายในรูปแบบ Dynamic Prices ทำให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์ในการหาผู้ขายที่สามารถให้ราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับองค์กร ทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เปิดประมูลผ่านอินเทอร์เน็ต จัดเก็บข้อมูลการเสนอราคา กำหนดเงื่อนไขการประมูล

7. ระบบบริหารการขายและการกระจายสินค้า (Sales and Distribution) เป็นระบบสำหรับประมวลผลรายการขายโดยครอบคลุมตั้งแต่การจัดทำใบเสนอราคา การบันทึกการขาย การจัดส่งสินค้า จนถึงการออกใบแจ้งหนี้ ประกอบด้วยระบบงานย่อย ดังนี้
– ระบบขาย (Sale)
– ระบบการจัดส่งสินค้า (Shipping & Delivery)
– ระบบการแจ้งหนี้ (Billing)
ระบบย่อยจะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ส่วนระบบบริหารการขายและการกระจายสินค้าจะเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ให้ปรับปรุงข้อมูลขณะปฏิบัติงานจริง เรียกดูรายงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง เชื่อมโยงข้อมูลของระบบงานอื่นๆ ไว้ในรายงานฉบับเดียวกัน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสนันสนุนการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน เช่น การทำใบบันทึกการขาย ทำการตรวจสอบวงเงินเชื่อของลูกค้าโดยอัตโนมัติ แบบ Real Time ตรวจสอบและจองปริมาณสินค้าในคลังได้อัตโนมัติ

8. ระบบการบำรุงรักษา (Paint Maintenance) ใช้เก็บข้อมูลทางเทคนิคของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้า เช่น สถานีส่งไฟฟ้าอุปกรณ์ส่งไฟฟ้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานบำรุงรักษา จัดการค่าใช้จ่าย การประเมินประสิทธิภาพ รวมทั้งประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน การกำหนดตารางการบำรุงรักษา รายละเอียดงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนทรัพยากรที่ต้องใช้ เวลา และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง จัดเก็บรายละเอียดประวัติงานประจำวัน และสนับสนุนข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจของผู้บริหาร

9. ระบบบริหารการผลิต (Production Planning) รองรับการบริหารการผลิต โดยแยกกระบวนการย่อยได้ ดังนี้
– การวางแผนการบริหารการผลิต (Production Planning)
– การผลิตผ่านใบสั่งผลิต (Production Order)
– การผลิตแบบต่อเนื่อง (Repetitive Manufacturing)
ระบบย่อยต่างๆ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน และระบบบริหารการผลิตสามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ รวมถึงการปรับปรุงข้อมูล ณ ปฏิบัติงานจริง เรียกดูรายงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเชื่อมโยงกับระบบงานอื่น เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนการตัดสินใจ การเชื่อมโยงกับระบบบริหารการผลิตกับระบบอื่นๆ ได้แก่
– ระบบบริหารการขายและการกระจายสินค้า (Sales and Distribution)
– ระบบจัดซื้อจัดหาและบริหารสินค้าคงคลัง (Purchasing and Inventory Management)
– ระบบบัญชีศูนย์ต้นทุน / ศูนย์กำไร (Cost Center Accounting)

10. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Excutive Information System) สร้างคลังข้อมูลสารสนเทศ (Data Warehouse) สนับสนุนการบริหารจัดการ การตัดสินใจของผู้บริหาร เชื่อมโยงการถ่ายโอนข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากระบบงานอื่นภายในหน่วยงานได้โดยอัตโนมัติตามระยะเวลาที่กำหนด เชื่อมโยงและถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก การดึงข้อมูลจากคลังข้อมูลมาวิเคราะห์ คำนวณ สนับสนุน จัดทำรายงานข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้บริหารตามระยะเวลาที่กำหนด ด้วยการใช้ข้อมูลจากระบบ ERP อนุญาตให้ผู้บริหารวิเคราะห์ข้อมูลข้ามสายงานที่ซับซ้อน รวมทั้งสนับสนุนวิธีการและเทคนิคการจัดการกลยุทธ์

11. ระบบการบริหารโครงการ (Project Management) รองรับการวางแผนและจัดการงบประมาณรวมทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับงานโครงการ เช่น งานโครงการก่อสร้างหรืองานบำรุงรักษาแบบป้องกัน ระบบบริหารโครงการประกอบด้วยฟังก์ชั่นงานหลัก ดังนี้
– ฐานข้อมูลโครงการ (Project Master) ส่วนงานที่รองรับการเก็บข้อมูลโครงการ (Project) และงานในโครงการ (Work Breakdown Structure – WBS) กำหนด Milestone และกำหนดงานเป็น Hierarchy รวมทั้งสามารถจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของงานหรือโครงการ เช่น วันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุด นอกจากนี้ระบบยังสามารถรองรับ การแสดงข้อมูลโครงการในลักษณะ Graphic หรือ Gantt Chart ได้ด้วย
– การจัดการงบประมาณคโครงการ (Project Budgeting) ช่วยควบคุมงบประมาณแต่ละโครงการ จัดเก็บงบประมาณของโครงการในแต่ละปี มีส่วนช่วยในการจัดตั้งและติดตามงบประมาณ
– การวางแผนโครงการและกำหนดตารางการทำงาน (Project Planning & Scheduling)
– การจัดเก็บและจัดสรรค่าใช้จ่าย (Project Settlement) รองรับการจัดเก็บข้อมูลด้านการเงิน บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น (Work Breakdown Settlement) และอ้างอิงกับเอกสารบันทึกค่าใช้จ่าย ในระบบบัญชีและการเงิน (Financial Accounting) เพื่อตรวจสอบได้

12. ระบบบริหารการเงิน (Treasury) รองรับการวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับงานโครงการต่างๆ ทั้งด้านรายรับรายจ่าย เพื่อทราบสถานการไหลของเงินเข้าออก จัดหาแหล่งของเงินมารองรับโครงการต่างๆ ที่จัดให้มีขึ้น รวมทั้งแผนการจ่ายชำระหนี้ตามงวดที่ถึงกำหนด ตามสกุลองค์กรได้หลายสถานการณ์ตามเงื่อนไขขององค์กร ประกอบด้วยระบบงานย่อย ดังนี้
– ระบบบริหารเงินสด (Cash Management) สามารถประมาณการรับจ่ายเงิน สำหรับในช่วงระยะเวลาที่ต้องการ รองรับการกระทบยอดกับธนาคารได้
– ระบบงบประมาณและบริหารกองทุน (Budgeting & Fund Management) กำหนดโครงสร้างของงบประมาณ แบ่งตามประเภทของงบประมาณ สรุปผลต่างของงบประมาณและยอดที่ใช้จริง ควบคุมการจ่ายเงินตามแหล่งของเงินทุนตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ

13. ระบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Enterprise Management) สนับสนุนการจัดการธุรกิจเชิงการจัดการเพิ่มมูลค่าของกิจการ สนับสนุนและจัดลำดับความสำคัญของการตัดสินใจตามเป้าหมายโดยรวมขององค์กร นำเสนอข้อมูลให้ผู้บริหารวิเคราะห์ข้ามสายงานที่ซับซ้อน เชื่อมโยงข้อมูลที่มาจากสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบงานประกอบด้วย
– การตรวจสอบประสิทธิภาพขององค์กร Corporate Performance Monitor) สนับสนุนการกำหนด วิเคราะห์ และให้มุมมองและตีความของตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการใช้เทคนิคมุมมองใหม่ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ ช่วยสร้างแบบจำลอง ช่วยประเมินตนเองได้
– จำลองและวางแผนทางธุรกิจ (Business Planning and Simulation) สนับสนุนการรวมกลยุทธ์ การวางแผนการปฏิบัติการของธุรกิจบนโครงสร้างข้อมูล ให้สอดคล้องกัน รวมถึงสร้างแบบจำลองเชิงเส้นที่เปลี่ยนแปลงได้ การจำลองสถานการณ์ การวางแผนเหตุการณ์ การประเมินค่าของความเสี่ยงธุรกิจ การจัดสรรทรัพยากรในส่วนการวางแผนธุรกิจและการพยากรณ์ที่เกิดจากเป้าหมายกลยุทธ์ KPI

14. ระบบ Enterprise Portal นำเอาหน้าจอของระบบงานที่ผู้ใช้ต้องการเรียกมาแสดงผ่าน Web page เช่น E-mail inbox, หน้าจอการทำงาน Module การใช้งานสามารถเข้าใช้ทุกระบบได้ ผ่านการ Login เพียงหนึ่งครั้ง ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการแสดงผลของ Webpage ได้ตาม User ที่ Login เข้ามา เรียกใช้งานระบบจากที่ใดก็ได้ที่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ที่มา : http://www.openerpthailand.org/viewtopic.php?f=4&t=443

ใส่ความเห็น