3. ระบบ ERP ประกอบด้วยชุดทำงานใดบ้าง

                                                                                                                                              ชุดทำงานของระบบ  ERP

รูปภาพ

1. Business Application Software Module ประกอบด้วย  Module  ที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์กร คือ  การบริหารการขาย  การบริหารการผลิต   การบริหารการจัดซื้อ  บัญชี  การเงิน  บัญชีบริหาร ฯลฯ แต่ละ  Module  สามารถทำงานอย่างโดดๆ  ได้  แต่ก็มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง  Module  กัน เมื่อกำหนด parameter ให้กับ module จะสามารถทำการเลือกรูปแบบ business process หรือ business rule ให้ตอบสนองเป้าหมายขององค์กรตาม business scenario  โดยมี business process ที่ปรับให้เข้ากับแต่ละองค์กรได้ ERP  package ที่ต่างกันจะมีเนื้อหา และน้ำหนักการเน้นความสามารถของแต่ละ  Module ไม่เหมือนกัน  และเหมาะกับการนำไปใช้งานในธุรกิจที่ต่างกัน  ในการเลือกจึงต้องพิจารณาจุดนี้ด้วย

2. ฐานข้อมูลรวม  (Integrated database) Business application module จะ share ฐานข้อมูลชนิด Relational database  (RDBMS) หรืออาจจะเป็น  database เฉพาะของแต่ละ  ERP package ก็ได้  Software Module จะประมวลผลทุก  transaction แบบเวลาจริง และบันทึกผลลงในฐานข้อมูลรวม โดยฐานข้อมูลรวมนี้สามารถถูก  access  จากทุก  Software Module ได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องทำ  batch processing หรือ File transfer  ระหว่าง  Software Module  เหมือนในอดีต  และทำให้ข้อมูลนั้นมีอยู่ “ที่เดียว”  ได้

3. System  Administration  Utility     Utility  กำหนดการใช้งานต่างๆ ได้แก่ การลงทะเบียนผู้ใช้งาน, การกำหนดสิทธิการใช้, การรักษาความปลอดภัยข้อมูล, การบริหารระบบ  LAN และ  network  ของ   terminal, การบริหารจัดการ  database เป็นต้น

4. Development  and Customize Utility ERP สามารถออกแบบระบบการทำงานใน business process ขององค์กรได้อย่างหลากหลาย  ตาม business scenario แต่บางครั้งอาจจะไม่สามารถสร้างรูปแบบอย่างที่ต้องการได้  หรือมีความต้องการที่จะ  Customize บางงานให้เข้ากับการทำงานของบริษัท  ERP  package  จึงได้เตรียม  Utility  ที่จะสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมส่วนนี้ไว้ด้วย  โดยจะมีระบบพัฒนาโปรแกรมภาษา 4GL (Fourth Generation Language) ให้มาด้วย

Function ของ ERP package

​ERP package โดยทั่วไปจะจัดเตรียม Software module สำหรับงานหลักของธุรกิจต่าง ๆ ไว้ดังนี้
1. ระบบบัญชี
​     1.1 บัญชีการเงิน – General, Account Receivable, Account Payable, Credit/Debit, Fixed Asset, Financial, Consolidated Accounts, Payroll, Currency Control(multi-currency)
1.2 บัญชีบริหาร – Budget Control, Cost Control, Profit Control, Profitability Analysis, ABC Cost Control, Management Analysis, Business Plan
2. ระบบการผลิต
​2.1 ควบคุมการผลิต – Bill of Material, Production Control, MRP, Scheduling, Production Cost Control, Production Operation Control, Quality Control, Equipment Control, Multi location Production Supporting System
2.2 ควบคุมสินค้าคงคลัง – Receipt/Shipment Control, Parts Supply  Control, Raw Material, Stocktaking
2.3 การออกแบบ – Technical Information Control, Parts Structure    Control, Drawing Control, Design RevisionSupport System
2.4 การจัดซื้อ – Outsourcing/Purchasing, Procurement,  Acceptance, การคืนสินค้า, ใบเสนอราคา, ใบสัญญา
2.5 ควบคุมโครงการ – Budget, Planning, Project Control

3. ระบบบริหารการขาย – Demand/Sales Forecasting , Purchase Order, Sales Planning/Analysis, Customer Management, Inquiry Management, Quotation Management,

Shipment Control, Marketing, Sale Agreement, Sale Support, Invoice/Sales Control

​4. Logistics – Logistic Requirement Planning ,Shipment/Transport Control,Export/Import     Control, Warehouse management, Logistics Support

5. ระบบการบำรุงรักษา – Equipment Management, Maintenance Control, Maintenance Planning

6. ระบบบริหารบุคคล – Personnel Management, Labor Management, Work Record Evaluation, Employment, Training & HRD, Payroll, Welfare Management

ที่มา : http://www.cs.buu.ac.th

ใส่ความเห็น