Modules การทำงานที่นำ SAP มาใช้

โมดูลของ SAP มีดังนี้

สถาปัตยกรรมของ SAP

ระบบ SAP ประกอบด้วย หลาย module ของแต่ละส่วนของการจัดการที่เอามารวมกันและทำงานร่วมกัน เนื่องด้วยตลาดและความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระบบ มีบริษัท software ที่พยายามสร้างโปรแกรมที่สนับสนุนแต่ละส่วนของธุรกิจ ในขณะที่ SAP พยายามสร้าง software ที่เหมาะสม กับทุกธุรกิจ SAP โดยให้โอกาสเลือกใช้แค่ระบบเดียวแต่สามารถทำงานได้กับทุกส่วนของธุรกิจ ทั้งยังสามารถติดตั้ง R/3 application มากกว่า 1 ตัวเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงาน

SAP มีหลาย Module มีหน้าที่ที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว (แต่ละ Module คือแต่ละส่วนของธุรกิจ) ผลิตภัณฑ์ SAP มี 2 กลุ่ม คือ

1. SAP R/2 ใช้สำหรับเมนเฟรม

2. SAP R/3 ใช้กับระบบ Client/server

SAP เป็นบริษัทของ German แต่แยกการทำงานเป็น บริษัทย่อย, หุ้นส่วน, และ พันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก

ผลิตภัณฑ์ของเอสเอพีเน้นไปที่ ERP ซึ่งบริษัทเป็นผู้บุกเบิก. ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ SAP R/3 โดยตัว “R” หมายถึง “realtime data processing” (การประมวลผลข้อมูลแบบเวลาจริง) ส่วน “3″ หมายถึง สถาปัตยกรรมโปรแกรมแบบ 3 ชั้น (three-tier) : ฐานข้อมูล, แอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ และ ไคลเอนต์ (SAPgui). โดยผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนหน้า SAP R/3 คือรุ่น R/2

ตามรายงาน มีการติดตั้งเอสเอพีมากกว่า 91,500 ชุดในมากกว่า 28,000 บริษัท. คนมากกว่า 12 ล้านคนในมากกว่า 120 ประเทศ ใช้ผลิตภัณฑ์ของเอสเอพี

จากภาพเป็นการแสดงถึงระบบจำลองของ SAP ซึ่งประกอบไปด้วยโมดูลมากมาย ซึ่งแต่ละโมดูลมีฟังก์ชั่นการทำงาน และหน้าที่ต่างกันออกไปตามสายงาน โดยมี ABAP เป็นตัวเชื่อมโมดูลต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันโมดูลของ SAP มีดังนี้

 1. FI  Financial Accounting  งานบัญชีและการเงิน  (Accounting and Finance)

ประกอบด้วย บัญชีการเงิน จัดสรรและควบคุมต้นทุน วางแผนและจัดทำงบประมาณ และบริหารกระแสเงินสด  โมดูลนี้ได้รวบรวมขั้นตอนการทำงานของระบบการทำบัญชีและการบริหารการเงินเข้า ไว้ด้วยกันและเพื่อทำให้แน่ใจบัญชีการจ่ายเงินต่างๆ ถูกจ่ายแล้ว และบัญชีการรับเงินไปอย่างถูกต้องและตรงเวลา รวมถึงการบริหารองค์กรในด้านการบัญชี และการเงินในทุกๆ ส่วนด้วย

​• ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)
บัญชีแยกประเภททั่วไปจะทำหน้าที่จัดเก็บแผนผังบัญชี (Chart of Account) ไว้เป็นศูนย์กลาง และงบดุลทางด้านการเงินของทั้งองค์กร โดยจะรองรับทุกส่วนของขั้นตอนทางการบัญชีของธุรกิจ ในโมดูลนี้รายการเปลี่ยนแปลง (Transactions) ทางการเงินและบัญชีจถูกโอน (Posted) ประมวลผล สรุป และรายงาน โดยจะเก็บรักษาการตรวจสอบบัญชี (Audit Trail) ที่สมบูรณ์ของรายการเปลี่ยนแปลง และทำให้หน่วยงานแต่ละส่วนสามารถที่จะดูข้อมูลข่าวสารการเงินของหน่วยงานได้ ขณะที่บริษัทแม่หรือองค์กรหลัก สามารถตรวจสอบผลการดำเนินการทั้งหมด และดูข้อมูลข่าวสารรวม (Consolidated) ได้เช่นกัน ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปที่ดีควรจะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้
– โครงสร้างแผนผังบัญชี (Chart of Account)
– การจัดการระบบบัญชีแยกประเภท (Ledger Management)
– การรวบรวมงบการเงินและการรายงาน (Financial Consolidation and Reporting)
– การบันทึกสมุดบัญชีรายวัน (Journal Entry)
– รายการเปลี่ยนแปลงบัญชีแยกประเภทใบสำคัญในสมุดบัญชีรายวัน (Journal Voucher Ledger Transactions)
– บัญชีแยกประเภทต้นทุนของโครงการ (Project Cost Ledger)
– การควบคุมบัญชีแยกประเภท (Ledger Control)
– การบัญชีต่างสกุลเงินและการแปลงอัตราแลกเปลี่ยน (Multicurrency Accounting and Conversion)
– การสอบถามข้อมูลและรายงานแบบทันทีทันใด (On-Line Inquiry Reporting)
– รายงานงบการเงิน (Financial Statement Reporting)
– การสร้างรายงานทางการเงิน (Financial Report Writer)
– การวิเคราะห์การผันแปรทางบัญชี (Variance Analysis)
– รายงานทางการเงินเพิ่มเติม (Additional Financial Reporting)

• ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Accounts Payable)
ระบบบัญชีเจ้าหนี้จะทำหน้าที่กำหนดตารางการจ่ายตั๋วเงิน ซึ่งต้องชำระให้ผู้จำหน่ายและผู้แทนจำหน่าย และเก็บรายละเอียด ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นหนี้ วันที่ครบกำหนดจ่าย และส่วนลดที่มีให้ โดยโมดูลนี้จะจัดเตรียมหน้าที่การทำงานและเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานอื่นๆ เช่น การบริการลูกค้า การจัดซื้อ การควบคุมคลังสินค้าและวัตถุดิบ และควบคุมโรงงานผลิต โมดูลนี้ควรจะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้
– ระเบียบและนโยบายบัญชีเจ้าหนี้ขององค์กร (AP Company Policies & Procedure)
– ข้อมูลหลักของผู้ขายและหลักฐานการจ่ายเงิน (Suppliers / Voucher Master Data)
– การควบคุมการชำระเงิน (Payment Controls)
– การทำใบกำกับสินค้า และการวิเคราะห์ระยะเวลาการชำระหนี้ (Invoice Processing & Aging Analysis)
– การชำระเงิน (Payment Processing)
– ใบสำคัญในสมุดบัญชีรายวัน (Journal Voucher Processing)
– การโอนข้อมูลบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (AP Ledger Posting)
– กรรมวิธีการทำเช็ค (Check Processing)
– รายการเปลี่ยนแปลงบัญชีเจ้าหนี้ และการควบคุม (AP Transactions & Controls)
– รายงานต่างๆ สำหรับบัญชีเจ้าหนี้ (AP Reporting)

• ระบบสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets)
ระบบสินทรัพย์ถาวรจะทำการบริหารค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และต้นทุนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สมบัติ เครื่องมือ และอุปกรณ์ โมดูลนี้ควรจะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้
– การบันทึกสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Record)
– รายการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ (Asset Transactions)
– ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ (Asset Depreciation)
– การลงบัญชีค่าเสื่อมราคา (Depreciation Books)
– การประเมินค่าใหม่ และการคำนวณอัตราดอกเบี้ย (Revaluation & Interest Calculation)
– รายงานภาษีต่างๆ (Tax Reporting)
 ระบบการทำบัญชีต้นทุน (Cost Accounting)
ระบบการทำบัญชีต้นทุนจะทำการวิเคระห์ต้นทุนขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้ จ่ายประจำ(โสหุ้ย) ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และต้นทุนการผลิตจากใบสั่งผลิตที่โรงงาน โดยจัดเตรียมวิธีการจากการจัดการต้นทุนที่มีความหลากหลายเช่น การคำนวณต้นทุนแบบมาตรฐาน (Standard) แบบต้นทุนเฉลี่ย (Average) แบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO- First In First Out) แบบเข้าทีหลังออกก่อน (LIFO- Last In First Out) แบบเป้าหมาย (Target) และแบบสุดท้ายที่เป็นหลักการใหม่คือแบบการคำนวณต้นทุนจากฐานกิจกรรม (ABC- Activity Based Costing) โมดูลนี้ควรจะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้
– ข้อมูลต้นทุน (Cost Data)
– การกำหนดวิธีการปันต้นทุน (Cost Allocation Definitions)
– การปฏิบัติในขั้นตอนการปันต้นทุน (Cost Allocation Process)
– การบริหารต้นทุน (Cost Management)
– การคำนวณต้นทุนและราคาขาย (Cost & Sales Price Calculation)
– การคำนวณต้นทุนจากฐานกิจกรรม (ABC – Activity Based Costing)
– การกำหนดแนวทางและติดตามการคำนวณต้นทุนจากฐานกิจกรรม (Activity Based Cost Tracing & Tracking)

• ระบบการบริหารเงินสด (Cash Management)
ระบบการบริหารเงินสดได้รวมถึงความสามารถของระบบที่จะบันทึกค่าใช้จ่ายเงินสด หรือเงินฝาก การบันทึกการชำระเงินสดและการรับ รายงานการวางแผนเงินสด (Cash Project Report) การคำนวณความคาดหวังของเงินสดที่จะใช้และแหล่งที่มา เงินสดในปัจจุบันที่พร้อมใช้ประโยชน์ได้ (Expected Cash Users/Sources) และอื่นๆ รวมถึงการตรวจดูและวิเคราะห์การถือครองเงินสด (Analyzes Cash Holdings) การทำความตกลงทางด้านการเงิน (Financial Deals) และความเสี่ยงในการลงทุน (Investment Risk)

• ระบบการบริหารงบประมาณ (Budgeting)
ระบบการบริหารงบประมาณได้รวมถึงการควบคุมงบประมาณหลักขององค์กร (Budgetary Controls) การทำบัญชีงบประมาณ (Budget Accounting) การพัฒนางบประมาณ (Budget Development) และการจัดสรรงบประมาณ (Budget Allocation) โดยระบบควรจะจัดเตรียมเครื่องมือให้เพียงพอที่จะทำให้ที่จะทำให้สามารถพัฒนา รายละเอียดของงบประมาณ และการวิเคราะห์ โดยส่วนที่เพิ่มเติมควรจะสามารถเข้าไปรวมกันได้กับระบบการบริหารโครงการได้ อย่างสมบูรณ์เสมือนระบบเดิม หรือไม่ก็ควรจะเชื่อมต่อกันได้

• ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable)
ระบบบัญชีเจ้าหนี้จะทำการติดตามกำหนดการจ่ายเงินจากลูกค้าที่จะต้องทำการ จ่ายให้องค์กร โดยบรรจุเครื่องมือที่จะทำการควบคุม และเร่งการรับเงินจากรายการที่บันทึกไว้ของใบสั่งขาย (Sales Order) เพื่อโอนไปเป็นการรับชำระหนี้ โมดูลนี้ควรจะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้
– ระเบียบและนโยบายบัญชีและลูกหนี้ขององค์กร (AR Company Policies & Procedure)
– ข้อมูลหลักของลูกค้าและหลักฐานการรับเงิน (Customer / Voucher Master Data)
– การทำใบสำคัญในการรับเงิน และการวิเคราะห์ระยะเวลาการรับชำระหนี้ (Bill Processing & Aging Analysis)
– การบริหารเงินเชื่อ (Credit Management)
– เอกสารในการรับชำระเงินสด และขั้นตอนการรับเงิน (Credit/Payment Application, Receipt Processing)
– ใบสำคัญในสมุดบัญชีรายวัน (Journal Voucher Processing)
– การโอนข้อมูลบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (AR Ledger Posting)
– การบัญชีต่างสกุลเงินและการแปลงอัตราแลกเปลี่ยน (Multicurrency Accounting & Conversion)
– รายการเปลี่ยนแปลงบัญชีลูกหนี้ การควบคุม (AR Transactions & Controls)
– รายงานต่างๆ สำหรับบัญชีลูกหนี้ (AR Reporting)

• รายงานการเงิน (Financial Reporting)
รายงานการเงินทำให้สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพขององค์กรได้แม่นยำขึ้นโดย อาศัยข้อมูลจากรายงานเหล่านั้น โดยรายงานเหล่านี้จะอนุญาตให้องค์กรย่อยทราบรายละเอียดทางด้านการเงิน (Financial Information) ขณะเดียวกัน องค์กรใหญ่ที่ถือหุ้นในองค์กรย่อย (Subsidiaries) จะสามารถตรวจสอบผลการดำเนินการขององค์กรสาขาทั้งหมดและดูข้อมูลข่าวสารรวม (Consolidate) ไดัเช่นกัน โดยระบบควรจะมีเครื่องมือให้ผู้ใช้สามารถสร้างรายงานเพิ่มขึ้นเองได้ และจัดเตรียมความลึกที่เพียงพอของข้อมูล (Depth of Data) และการเข้าถึงข้อมูลการเงินที่จะสามารถสรุปได้จากข้อมูลทั้งหมด
 การทำบัญชีโครงการ (Project Accounting)
ระบบบัญชีโครงการจะทำหน้าที่ตรวจดูต้นทุนและตารางการทำงานของแต่ละโครงการใน ระดับพื้นฐาน โดยจะถูกรวมโมดูลย่อยๆ ไว้ในนั้นเสมอ เช่น ระบบควบคุมโครงการ (Project Control) การวิเคราะห์โครงการ (Project Analyzer) งบประมาณโครงการ (Project Budgeting) การรักษาเวลาโครงการ (Project Timekeeping) บัญชีรายการสั่งซื้อของโครงการ (Project Billings) การบริหารสัญญา (Contract Management) และระบบการเชื่อมต่อวงจรการทำงาน (Workflow Communicator)

13126839991
2. CONTROLLING (CO)  ระบบควบคุมต้นทุน

วัตถุประสงค์ของโมดูล (CO) ควบคุมใน SAP คือการให้องค์กรที่มีวิธีการหั่นและ dicing ข้อมูลไปดูค่าใช้จ่ายจากมุมมองการจัดการภายในและให้มุมมองในการทำกำไรที่เหนือกว่าการรายงานทางการเงินขั้นพื้นฐาน นี้จะช่วยให้องค์กรเพื่อสร้างข้อมูลในลักษณะที่สามารถปรับแต่งให้วัดธุรกิจเฉพาะของพวกเขาต้องการ การควบคุมช่วยให้องค์กรไปวางแผนและติดตามต้นทุนค่าใช้จ่ายภายในโครงสร้างองค์กรของ บริษัท ที่เฉพาะเจาะจง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการติดตามโครงการเฉพาะหรือเหตุการณ์และทั้งค่าใช้จ่ายที่ลงทุนหรือค่าใช้จ่ายพวกเขาไปยังหน่วยงานที่เหมาะสมเมื่อเสร็จสิ้นดำเนินการ “กิจกรรมตามต้นทุน”  ดำเนินการสินค้าต้นทุนวัดต้นทุนการผลิตและค่าความแปรปรวนรายงานผลกำไรตามสายผลิตภัณฑ์ส่วนหรือตรวจวัดภายในอื่น ๆ  ขายและผลกำไรรายงานขั้นต้นโดยใช้มาตรการภายนอกเช่นกลุ่มตลาดหรือกลุ่มลูกค้า  การควบคุมประกอบด้วยข้อมูลทั้งหมดต้นแบบการกำหนดค่าและการรายงานจำเป็นในการวิเคราะห์ทั้งการใช้จ่ายและรายได้ทั้งภายในและระหว่างองค์กร ซึ่งรวมถึงข้อมูลหลักต่อไปนี้

• องค์ประกอบค่าใช้จ่าย (Cost elements)
• ศูนย์ต้นทุน (Cost centres)
• ศูนย์กำไร (Profit centres)
• คำสั่งภายใน (Internal orders)
• กิจกรรมต้นทุน (Activity based costing)
• ต้นทุนสินค้า (Product costing)
มีโมดูลย่อยได้แก่
Overhead Cost Controlling (CO-OM)
• Cost and Revenue Element Accounting (CO-OM-CEL)
• Cost Center Accounting (CO-OM-CCA)
• Overhead Orders (CO-OM-OPA)
• Activity-Based Costing (CO-OM-ABC)
Product Cost Controlling (CO-PC)
• Product Cost Controlling (CO-PC)
• Product Cost Planning (CO-PC-PRD)
• Cost Object Controlling (CO-PC-OBJ)
Profitability Analyses (CO-PA)

3. ASSET MANAGEMENT (AM)   ระบบการบริหารจัดการทรัพย์สิน

ระบบสินทรัพย์ถาวรจะทำการบริหารค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และต้นทุนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สมบัติ เครื่องมือ และอุปกรณ์ โมดูลนี้ควรจะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้

– การบันทึกสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Record)

– รายการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ (Asset Transactions)

– ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ (Asset Depreciation)

– การลงบัญชีค่าเสื่อมราคา (Depreciation Books)

– การประเมินค่าใหม่ และการคำนวณอัตราดอกเบี้ย (Revaluation & Interest Calculation)

– รายงานภาษีต่างๆ (Tax Reporting)

4. SALES AND DISTRIBUTION (SD)   ระบบการขาย และการจัดจำหน่าย

Distribution Application ประกอบด้วย

  • ระบบบริหารงานขาย และ จัดการงานขาย (Sale Management) เป็นระบบการขายและการบริหาร สามารถดูสินค้าที่จะขายได้ในจอเดียวกัน และ ช่วยการตัดสินใจในการขายได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเช็คข้อมูลของลูกค้าเป็นระบบสนับสนุนการขายที่เชื่อมโยงกับระบบควบ คุมสินค้าคงคลังแบบ On – Line ซึ่งสามารถ ตอบสนองการขายสินค้าได้อย่างแม่นยำเกี่ยวกับปริมาณของสินค้าที่มีอยู่ในคลัง เพราะสามารถเรียกดูรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับรายการ เช่น เครดิต หรือ ราคาเดิมที่เสนอสามารถสอบถามข้อมูล สรุปยอดขายเปรียบเทียบตามลูกค้าหรือ สินค้า / สรุปยอดขายเทียบตามเป้าขาย
    และสามารถสอบถามข้อมูลการรับชำระของใบกำกับภาษี เป็นต้น
  • ระบบผลประโยชน์ฝ่ายขาย (Sale Commission) เป็นระบบจัดการผลประโยชน์ของฝ่ายขาย ระบบสามารถจัดสรรอัตราค่าตอบแทนให้กับ พนักงานขายโดยตรง และสามารถเชื่อมต่อกับระบบขายอัตโนมัติที่มีการออกแบบได้ อย่างลงตัว สามารถแบ่งระดับของคอมมิชชั่นได้หลายระดับตามแต่การกำหนดขององค์กรนั้นๆ และยังสามารถบันทึกอัตราค่าคอมมิชชั่น แตกต่างกัน ตามตำแหน่งในหน่วยงานได้ เช่น ระดับตำแหน่งหัวหน้า เป็นต้น
  • ะบบจัดซื้อ (Purchase Order) เป็นระบบสนับสนุนการจัดซื้อเป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อจัดการกับระบบ สั่งซื้อที่มีความหลากหลาย ยืดหยุ่น กับผู้ซื้อและ ผู้ขายได้อย่างลงตัวสามารถจัดการ วิธีการต่าง ๆ รวมถึงรักษาความสัมพันธ์กับผู้ขายได้ ช่วยในการควบคุมปริมาณสินค้า คงคลังให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถสอบถามประวัติสินค้าคงเหลือประวัติการสั่งซื้อ เช่น วันที่ ราคา จำนวน และจากผู้ขายได้สมบูรณ์เป็นต้น
  • ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory Control) เป็นระบบช่วยจัดการกับระบบสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ โดยจะช่วยควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถสอบถามประวัติสินค้าคงเหลือ ประวัติการสั่งซื้อเช่น วันที่ ราคา จำนวน และจากผู้ขายได้สมบูรณ์ รองรับหน่วยได้หลายระดับ เช่น หน่วยซื้อ, หน่วยเก็บ, หน่วยขาย, หน่วย BOM เป็นต้น
  • ระบบขายหน้าร้าน เป็นระบบบริหารจัดการ ณ จุดขาย( POS )ซึ่งรองรับการออก ใบกำกับภาษี ออกใบเสร็จอย่างเต็มรูปแบบได้ โดยเชื่อมโยงกับระบบกับระบบบัญชีได้แบบ On-Line เป็นต้น
  • ระบบบริการหลังการขาย (Service Center), และบริหารการรับประกันเพื่อรักษาฐานลูกค้าสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า และความมั่งคงให้กับกิจการ เป็นโปรแกรม ที่จะช่วยบริหารการติดต่อลูกค้า, การนัดหมาย, การติดตามงานค้าง และการบริหารงานขายเบื้องต้น เป็นต้น
  • ระบบวิเคราะห์การขาย (Sale Analysis) สามารถรวบรวมข้อมูลสถิติการขายจากระบบใบสั่งสินค้า และใบส่งสินค้า มาสรุปเพื่อการวิเคราะห์การขาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ว่าลูกค้าแต่ละรายซื้อสินค้าอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร พนักงานขายแต่ละคนขายสินค้าอะไรบ้าง ยอดขายเท่าไร และมีผล กำไรอย่างไร สินค้ากลุ่มใดมียอดขายสูง ลูกค้าแต่ละกลุ่มซื้อสินค้าประเภทใดบ้าง เพื่อประโยชน์ในการประเมิน และวาง แผนการขายต่อไป เป็นต้น

5. MATERIAL MANAGEMENT (MM)   ระบบบริหารวัสดุอุปกรณ์

ระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP – Material Requirement Planning) เป็นกุญแจสำคัญของการวางแผนโรงงาน ซึ่งจะใช้ตารางการผลิตหลักของโรงงานและแหล่งที่มาของอุปสงค์และอุปทานอื่นๆ เพื่อคำนวณหา
– ความต้องการสุทธิและวัตถุดิบคงคลังในมือที่ได้วางแผนไว้
– ตารางและแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ
– ข้อควรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการวางแผนวัตถุดิบ เช่นการสั่งให้ซื้อเพิ่มหรือยกเลิกการซื้อวัตถุดิบในบางรายการ
MRP จะคำนวณถึงสมดุลของอุปทานและอุปสงค์ของรายการที่ต้องซื้อและรายการที่ต้องการผลิต โดยจะบอกถึงจำนวนอุปสงค์หรือความต้องการ และคำนวณระยะเวลาที่ต้องทำการสั่งซื้อเพิ่มเติมให้เต็มความต้องการ
โดย MRP จะมองที่ความต้องการผลิตภัณฑ์ของผู้ซื้อ (Finished Items demand) และใช้โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ (Product Structure) เพื่อคำนวณหาความต้องการของรายการส่วนประกอบ (Component Items) โดยแต่ละรายการส่วนประกอบนั้น จะพิจารณาถึงรายละเอียดรายของการสั่งซื้อ (Order Information) จำนวนของวัตถุดิบคงคลังในมือ (Inventory On Hand) ระยะเวลาในการสั่งซื้อ (Lead Time) โดยจะสร้างแผนการสั่งซื้อ/ผลิต (Planned Ordered) และคำแนะนำต่างๆ เป็นเสมือนผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ

แหล่งที่มาของความต้องการ (Source of Demand) มีดังต่อไปนี้
– ใบสั่งขายสินค้า (Sales Orders)
– ตารางการส่งของจากลูกค้า (Customer Schedule Order)
– การประมาณการยอดขายหรือการผลิต (Sales Forecast or Production Forecast)
– ปริมาณขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) หรือความต้องการพิเศษจากโรงงาน (Special Requirement from Manufacturing)

แหล่งที่มาของสิ่งที่มีอยู่ (Source of Supply) มีดังต่อไปนี้
– จำนวนของวัตถุดิบคงคลังในมือ (QOH – Quantity on hand)
– ใบสั่งซื้อวัตถุดิบ (Material Purchase Order)
– ใบสั่งผลิตในโรงงาน (Work Order or Manufacturing Order)
– ตารางการส่งวัตถุดิบจากผู้ขาย (Supplier schedule order)

6. PRODUCTION PLANNING (PP)   ระบบวางแผนการผลิต

โมดูลนี้ได้รวบรวมขั้นตอนการทำงานของระบบการบริหารการผลิตไว้ โดยจะครอบคลุมถึงระบบงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น การวางแผนการผลิต การจัดการใบสั่งผลิต จนกระทั่งถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า และการคิดต้นทุนการผลิต

  • ​ ระบบการจัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ (PDM – Product Data Management)

ระบบการจัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ จะรวมถึงรายการวัตถุดิบ (Bill Of Material) ขั้นตอนการผลิต (Routings) และระบบที่สนับสนุนการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม (Engineering Change Management) โดยระบบดังกล่าวจะรวมมุมมองทุกอย่างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้วิศวกรนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์

• โครงสร้างของผลิตภัณฑ์หรือรายการวัตถุดิบ (Product Structure / BOM – Bill Of Material)

โครงสร้างของผลิตภัณฑ์หรือรายการวัตถุดิบ (Product Structure / BOM – Bill Of Material) จะรวบรวมรายการของวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์นั้นๆไว้ โดยระบุความสัมพันธ์เป็นระดับชั้น พร้อมทั้งส่วนประกอบและจำนวนที่ต้องการใช้เป็นสำคัญ และรายละเอียดเพิ่มเติมที่ควรมี เช่น การกำหนดส่วนประกอบที่ใช้แทนกัน (Substitute/Phantom Component) วันที่มีผลบังคับใช้ในส่วนประกอบแต่ละรายการ (Effective Date) การประมาณของเสียในแต่ละส่วนประกอบ (Scrap Percentage) และความสัมพันธ์กับระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม (Engineering Change Management) ที่เกี่ยวข้องกับรายการวัตถุดิบ

• ขั้นตอนการผลิต (Routing)

ขั้นตอนการผลิต (Routing) จะประกอบด้วยอย่างน้อยหนึ่งขั้นตอน หรือมากกว่า โดยจะเรียงตามลำดับจากขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย โดยแต่ละขั้นตอนการผลิตจะต้องสามารถระบุได้ถึง เวลาที่ใช้ในการผลิต (Run Time) เวลาที่สูญเสียในแต่ละขั้นตอน (Waste Time) จำนวนแรงงานหรือเครื่องจักรที่ใช้ในขั้นตอนการผลิต (Man or Machine Usage) ขั้นตอนที่ใช้ทดแทน (Alternate Routing) วันที่มีผลบังคับใช้ในส่วนประกอบแต่ละขั้นตอน (Effective Date) การประมาณผลผลิตดีในแต่ละขั้นตอน (Yield Percentage) การระบุขั้นตอนแบบให้ผู้รับเหมาช่วง (Subcontractor) การคำนวณหาระยะเวลาในการผลิตผลิตภัณฑ์ (Roll Up Total Lead Time) และความสัมพันธ์กับระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม (Engineering Change Management) ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิต

• ระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP – Material Requirement Planning)

ระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP – Material Requirement Planning) เป็นกุญแจสำคัญของการวางแผนโรงงาน ซึ่งจะใช้ตารางการผลิตหลักของโรงงานและแหล่งที่มาของอุปสงค์และอุปทานอื่นๆ เพื่อคำนวณหา

– ความต้องการสุทธิและวัตถุดิบคงคลังในมือที่ได้วางแผนไว้

– ตารางและแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ

– ข้อควรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการวางแผนวัตถุดิบ เช่นการสั่งให้ซื้อเพิ่มหรือยกเลิกการซื้อวัตถุดิบในบางรายการ

MRP จะคำนวณถึงสมดุลของอุปทานและอุปสงค์ของรายการที่ต้องซื้อและรายการที่ต้องการผลิต โดยจะบอกถึงจำนวนอุปสงค์หรือความต้องการ และคำนวณระยะเวลาที่ต้องทำการสั่งซื้อเพิ่มเติมให้เต็มความต้องการ

โดย MRP จะมองที่ความต้องการผลิตภัณฑ์ของผู้ซื้อ (Finished Items demand) และใช้โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ (Product Structure) เพื่อคำนวณหาความต้องการของรายการส่วนประกอบ (Component Items) โดยแต่ละรายการส่วนประกอบนั้น จะพิจารณาถึงรายละเอียดรายของการสั่งซื้อ (Order Information) จำนวนของวัตถุดิบคงคลังในมือ (Inventory On Hand) ระยะเวลาในการสั่งซื้อ (Lead Time) โดยจะสร้างแผนการสั่งซื้อ/ผลิต (Planned Ordered) และคำแนะนำต่างๆ เป็นเสมือนผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ

แหล่งที่มาของความต้องการ (Source of Demand) มีดังต่อไปนี้

– ใบสั่งขายสินค้า (Sales Orders)

– ตารางการส่งของจากลูกค้า (Customer Schedule Order)

– การประมาณการยอดขายหรือการผลิต (Sales Forecast or Production Forecast)

– ปริมาณขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) หรือความต้องการพิเศษจากโรงงาน (Special Requirement from Manufacturing)

แหล่งที่มาของสิ่งที่มีอยู่ (Source of Supply) มีดังต่อไปนี้

– จำนวนของวัตถุดิบคงคลังในมือ (QOH – Quantity on hand)

– ใบสั่งซื้อวัตถุดิบ (Material Purchase Order)

– ใบสั่งผลิตในโรงงาน (Work Order or Manufacturing Order)

– ตารางการส่งวัตถุดิบจากผู้ขาย (Supplier schedule order)

• ระบบการวางแผนความต้องการความสามารถทางการผลิต (CRP – Capacity Requirement Planning)

ระบบการวางแผนความต้องการความสามารถทางการผลิต (CRP – Capacity Requirement Planning) จะใช้แผนการสั่งผลิต (Planned Order) ที่ได้จากระบบ MRP ในการวัดภาระการผลิตของแต่ละหน่วยการผลิต โดยจะคำนวณภาระหน้าที่หรืองานที่ต้องทำ (Workload) สำหรับแต่ละแผนก (Department) จุดการทำงาน (Work center) หรือเครื่องจักร (Machine) โดยจะทำการแจกแจงขั้นตอนการผลิต (Routing) กระบวนการของแผนการสั่งผลิต (Planned Order) แผนการสั่งผลิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว (Firm Planned Order) และกำหนดถึงวันที่จะเริ่มต้นการผลิตและวันกำหนดเสร็จ ของแต่ละขั้นตอน โดยอ้างถึงปฏิทินการทำงานของจุดการผลิต (Shop Calendar) นั้นๆ เป็นเกณฑ์

• ระบบการวางแผนการผลิต (Production Planning)

การวางแผนการผลิตจะทำการจัดวางตารางการผลิตรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน สำหรับองค์กรที่มีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า โดยจะปฏิบัติตามกำลังการผลิตของโรงงานนั้นๆ รวมถึงการประมาณการณ์ การกำหนดลำดับการทำงานผลิตก่อน -หลัง และการวางแผนวัตถุดิบ เป็นต้น

• ระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control)

ระบบควบคุมการผลิตจะทำการจัดเตรียม การควบคุมการผลิต การติดตามสถานะของใบสั่งผลิตในโรงงานที่ทำการผลิต รวมถึงการส่งมอบใบสั่งผลิต การวางแผนความสามารถในการผลิต การจัดสรรทรัพยากร การติดตามผลการผลิตและรายงานผลการผลิตการตรวจสอบ ติดตามของเสียและการสิ้นเปลืองในการผลิต

• ระบบต้นทุนทางด้านการผลิต (Production Cost)

ระบบต้นทุนทางด้านการผลิต จะทำการวิเคราะห์ ค้นหา ต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการผลิต จนกระทั่งได้ต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์ โดยต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์จะต้องมีความเกี่ยวพันถึง ต้นทุนค่าแรงงาน (Labor Cost) ต้นทุนค่าวัตถุดิบ (Material Cost) ต้นทุนของโรงงานการผลิต (Manufacturing Cost) และค่าใช้จ่ายประจำหรือค่าโสหุ้ย (Overhead Cost) โดยจัดเตรียมวิธีการจัดการต้นทุนที่มีความหลากหลาย เช่น การคำนวณต้นทุนแบบมาตรฐาน (Standard Cost) แบบตามค่าใช้จ่ายจริง (Actual Cost) แบบต้นทุนเฉลี่ย (Average Cost) เป็นต้น

• ระบบการบริหารการผลิตแบบกลุ่มโครงการ (Project Management)

ระบบการบริหารการผลิตแบบกลุ่มโครงการจะทำการตรวจสอบต้นทุนและตารางการผลิตโดยพื้นฐานของโครงการแต่ละโครงการ โดยส่วนใหญ่จะต้องประกอบด้วยระบบการควบคุมโครงการ ระบบการวิเคราะห์โครงการ ระบบควบคุมงบประมาณ โครงการ ระบบการรักษาเวลา เพื่อสนับสนุนให้การผลิตในโครงการนั้นมีประสิทธิผล และทำกำไรได้สูงสุด

7. QUALITY MANAGEMENT (QM)  ระบบควบคุมคุณภาพ

ระบบการจัดการคุณภาพ จะทำการรวบรวมเทคนิคในการปฏิบัติงานต่างๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การสร้างและการบริหารแผนการตรวจสอบคุณภาพ (Inspection Plan) การควบคุมการสูญเสียที่เกิดจากการผลิต (Defective Control) และการรวบรวมระเบียบการตรวจสอบคุณภาพ (Inspection Procedure) โดยระบบนี้ควรจะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ เหล่านี้

– การใช้วัตถุดิบเกินมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากการสูญเสียที่เกิดจากผลิต จะต้องมีการปรับค่าวัตถุดิบในมือด้วย

– เมื่อเกิดมีวัตถุดิบเสียหายอันเกิดมาจากตัววัตถุดิบเอง ระบบจะต้องมีการบันทึก/รายงานการเสียหายนั้น การกระทำการแก้ไข (Corrective Action) การวิเคราะห์

ความเสียหาย (Failure Analysis) เพื่อให้รายงานนั้นส่งถึงผู้ขายวัตถุดิบ ซึ่งอาจจะเป็นระบบอัตโนมัติก็ได้

– การบันทึก/วัดผล การตรวจสอบวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ รายงานแบบผู้ขายและแบบรายการวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์

– การแยกกลุ่มวัตถุดิบคงคลัง แบบยังไม่ได้มีการตรวจสอบคุณภาพ ไม่ให้รวมกับวัตถุดิบคงคลังที่ทำการตรวจเรียบร้อยแล้ว

– การสอบถาม/รายงานข้อมูลการตรวจสอบวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการติดตามสืบค้น วิธีการ/ผลตรวจสอบ โดยข้อมูลดังกล่าวจะต้องเก็บข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจะต้องรวมถึง ปริมาณของสูญเสียที่เกิดจากการผลิต (Quantity Defected) ปริมาณของเสียที่คัดทิ้งที่เกิดจากการผลิต (Quantity Rejected) เหตุผลของการสูญเสียที่เกิดจากการผลิต (Defected/Rejected Reason) แนวทางการแก้ไข/ปฏิบัติ (Corrective Action)

– การแยกกลุ่มผลิตภัณ์ที่ไม่ได้คุณภาพ ที่ต้องการซ่อมแซม (Rework status) วัตถุดิบคงคลัง แบบยังไม่ได้มีการตรวจสอบคุณภาพ ไม่ให้รวมกับวัตถุดิบคงคลัง     ที่ทำการตรวจเรียบร้อยแล้ว

8. PLANT MANAGEMENT (PM)  ระบบซ่อมบำรุง และงานดูแลต่างๆ

เป็นโปรแกรมการบริหารงาน และควบคุมระบบการซ่อมบํารุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการบริหารงาน และควบคุมระบบการซ่อมบํารุง ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นระบบการทำงานภายใต้ระบบงาน SAP ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในบริษัทชั้นนำทั่วไป โดยการควบคุมระบบงานซ่อมด้วย ใบสั่งงาน (MO – Maintenance Order) และการวางแผนงานบำรุงรักษา (Preventive Maintenance) โดยระบบมีความสอดคล้องกับระบบ TPM (Total Preventive Maintenance) ซึ่งระบบ TPM นั้น เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในระบบอุตสาหกรรม

ซึ่งประกอบด้วย 5 Module ใหญ่ๆ ดังนี้

1.ระบบการบริหารการซ่อม (Repair/Corrective Maintenance)

– แจ้งซ่อม (MR. Maintenance Request)

– ใบสั่งซ่อม (MO. Maintenance Order)

– ปิดงานซ่อม (MC. Maintenance Complete)

– ตรวจรับงานซ่อม (MA. Maintenance Approved)

– วิเคราะห์/รายงาน/กราฟ สรุปการทำ Maintenance

– เวลาเครื่องจักรหยุด (Downtime)

– แนวโน้มการหยุดของเครื่องจักร (Trend of Downtime)

– ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance of Machine)

– ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง (B.M. Budget)

– สาเหตุการเสียของเครื่องจักร (Root cause of Machine)

2.ระบบการบริหารการบำรุงรักษา (Preventive Maintenance System : P.M.)

– สร้างแผนงานบำรุงรักษา (P.M. Create)

– กำหนดแผน (วัน/สัปดาห์/เดือน/ปี)

– กำหนดวันทำงาน

– กำหนดคน

– กำหนดเวลาการทำงาน

– กำหนดการเปลี่ยนอะไหล่

– ออกใบสั่งงานบำรุงรักษา (P.M. Work Order)

– ปิดงานบำรุงรักษา (P.M. Complete)

– ตรวจรับงานบำรุงรักษา (P.M. Approved)

– วิเคราะห์/รายงาน/กราฟ สรุปการทำ P.M.

– ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา (P.M. Budget)

– ติดตามแผนบำรุงรักษา (P.M. PM Plus+TM up)

– วิเคราะห์แผนบำรุงรักษา (P.M. Analyses)

– วิเคราะห์แรงงาน (Labor Analyses)

3.ระบบการบริหารพัสดุ, การสั่งซื้อและการบริหารต้นทุนแรงงาน (Material Reservation, External Procurement, Labor Cost)

– บริหารจัดการ stock พัสดุแบบรวมศูนย์ (Spare Part Pool)

– บริหารจัดการสั่งซื้อพัสดุจากภายนอก

– บริหารจัดการต้นทุนแรงงานในการซ่อมบำรุง

4.ระบบการบริหารประวัติการซ่อมบำรุง (Maintenance History)

– เก็บบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงทั้งในส่วนของ Report ต่างๆ, ค่า downtime, ประวัติการซ่อม,ประวัติเครื่องจักร, BOM ของเครื่องจักร

5.ระบบการบริหารต้นทุนและการวิเคราะห์การซ่อมบำรุง

– สามารถบริหารต้นทุนของการซ่อมบำรุง

– สามารถวิเคราะห์ต้นทุนหรือการซ่อมบำรุงได้หลายรูปแบบ

9. HUMAN RESOURCE (HR)  ระบบบริหารงานบุคคล

ระบบการบริหารงานบุคคล จะรวมระบบงานต่างๆ ที่รองรับการทำงานด้านบริหารงานบุคคลไว้ด้วยกันเช่น การคัดสรรบุคคลากร ฐานข้อมูลส่วนบุคคล การสืบค้นข้อมูลส่วนบุคคลในอดีต โครงสร้างองค์กร การบริหารการฝึกอบรม/การพัฒนาอาชีพ การจัดการการใช้รางวัล การจัดการโครงสร้างตำแหน่งและค่าจ้าง การบริหารวันหยุด และวันลาต่างๆ เช่น  การลาป่วย   การลาพักร้อน   การลากิจ    การลาเพื่อกิจการขององค์กร    การลาประเภทอื่นๆ

​ทั้งนี้ควรรวมถึงการจัดการค่าตอบแทน การจัดการงบประมาณและต้นทุน การจัดการค่าใช้จ่าย รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ การสืบค้นประวัติการลงโทษทางวินัย การบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุ/การบาดเจ็บ และการสูญเสียเวลาการทำงานของพนักงาน และรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับข้อมูลพนักงานและประวัติในอดีต

• ระบบการบริหารเวลาการทำงาน (Attendance Management)

​​ระบบการบริหารเวลาการทำงาน จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางด้านเวลาการทำงานของพนักงาน เวลาเข้าทำงานและเวลาเลิกงาน คำนวณชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา คำนวณค่าเบี้ยเลี้ยงต่างๆ คำนวณเงินหัก โดยระบบจะต้องเชื่อมต่อกับระบบการบริหารงานบุคคลเพื่อตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล ฐานรายได้ต่างๆ ในการคำนณเบี้ยเลี้ยง ตรวจสอบการลาต่างๆ และระบบจะต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบการบริหารเงินเดือนหรือการจ่ายค่าจ้าง เพื่อรวบรวมรายได้ของพนักงานแต่ละคน ในงวดค่าจ้างต่อไป

​โดยปกติระบบนี้อาจจะไม่มีในระบบ ERP บางราย หรือเงื่อนไขอาจไม่ตรงกับลักษณะการทำงาน ขององค์กรนั้นๆ โดยเฉพาะ ERP ที่มาจากทางด้านยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังนั้น อาจนำระบบการบริหารเวลาการทำงานจากภายนอก มาเชื่อมต่อ อาจจะมีประสิทธิภาพดีกว่า

• ระบบการบริหารเงินเดือน (Payroll Management)

​ระบบการบริหารเงินเดือน จะทำหน้าที่จัดการทางด้านการเงิน โดยการเตรียมการคำนวณ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยงและเนหักต่างๆ ในแต่ละงวดการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน โดยระบบการบริหารเงินเดือนจะต้องรองรับการคำนวณและหักภาษี การเตรียมเช็คเพื่อสั่งจ่าย รวมถึงการเก็บข้อมูลเพื่อรองรับการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง

• ระบบการประเมินผล (Evaluation)

​ระบบการประเมินผล จะทำหน้าที่รวบรวมประวัติการทำงานของพนักงานแต่ละคนในการขาดงาน ลา สายและจัดเตรียมการเก็บข้อมูล/ประมวลผล การประเมินผลงานจากหัวหน้างาน เพื่อคำนวณร่วมกับสูตรการขึ้นเงินเดือน อัตราการจ่ายเงินโบนัส หรือเงินปันผล ในแต่ละงวดการประเมิน

10. TREASURY (TR)   ระบบคลังสินค้า

  มีโมดูลย่อยได้แก่

• Cash Management (TR-CM)   คือ การบริหารเงินสด
• Treasury Management (TR-TM)  คือ  ธนารักษ์บริหาร
• Funds Management (TR-FM)   คือ   การจัดการกองทุน
• Market Risk Management (TR-MRM)  คือ  การจัดการความเสี่ยงด้านตลาด

11. WF Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน

– สร้างรายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Inventory Transaction) ทั้งการรับ (Receipt) การจ่าย (Issue) และการโอนย้าย (Transfer)

– ข้อห้ามต่างๆ ในการทำรายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Restrict Inventory Transaction)

– การตรวจสอบติดตาม (Monitor) รายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Inventory Transaction) และประวัติการบันทึกในระบบ

– การกำหนดโรงงาน คลังที่จัดเก็บ โรงเก็บสินค้า/วัตถุดิบ ที่หลากหลาย (Multiple Plant, Store and Warehouse)

– การควบคุม ติดตามที่ตั้งและกลุ่มของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ (Location and Lot Control)

– การจองและการจัดสรรวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง (Reservation and Allocation)

– การตรวจนับของในคลังสินค้าตามวาระ (Cycle Count) เพื่อพิสูจน์จำนวนยอดคงคลังในมือ (On-hand Qty)

– การปรับยอดในคลัง (Inventory Adjustment)

– ความสามารถในการใช้หน่วยวัดที่หลากหลาย (Multiple Unit of Measurement)

– การวิเคราะห์แบบเอบีซี (ABC Analysis) เพื่อแบ่งกลุ่มความสำคัญของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ

– รายงานต่างๆ เกี่ยวกับระบบคลังสินค้าและวัตถุดิบ

12. IS Industry Solutions   คือ  ส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตร

ส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP R/3 ซึ่งจะมีทั้งระบบ    ซึ่งจะมีทั้งระบบการบินและอวกาศ, ยานยนต์, ธนาคาร, เคมี, สินค้าอุปโภคบริโภค, วิศวกรรมและการก่อสร้าง, สุขภาพ, อุดมศึกษา

ที่มา  : : http://course.eau.ac.th  ,    http://www.baanjomyut.com

http://it-edu.exteen.com/20091113/intro-sap-2-sap

http://it.eau.ac.th/

http://course.eau.ac.th/course/Download/0240814/erpmodule.doc

ใส่ความเห็น